Monday, 29 April 2024
สุชาติ ชมกลิ่น

แรงงาน 3 สัญชาติ เฮ! ศบค. เคาะ นำเข้า MoU ตามกระทรวงแรงงานเสนอ 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 18/2564 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คาดว่าหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นายจ้างสามารถยื่นความต้องการจ้างแรงงานที่กรมการจัดหางานได้เลย 

โดยแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยต้องเข้ารับการกักตัว และตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ต้องกักตัว 7 วัน หากฉีด 1 เข็ม หรือยังไม่เคยรับวัคซีน จะต้องกักตัว 14 วัน ระหว่างกักตัวจะมีการตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยวิธี RT – PCR 2 ครั้ง โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบการ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วยค่าสถานที่กักกัน วันละ 500 – 1,000 บาท และค่าตรวจหาเชื้อโควิด 2 ครั้ง รวม 2,600 บาท กรณีคนต่างด้าวติดเชื้อฯ นายจ้างหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษา ซึ่งวันสุดท้ายของการกักตัวแรงงานต่างด้าวที่ยังรับวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ จะได้รับการฉีดวัคซีนโดยกระทรวงแรงงานเป็นผู้จัดหาให้ ในส่วนของเข็มที่ 2 กระทรวงแรงงานจะประสานสาธารณสุขจังหวัดปลายทางเพื่อนัดหมายฉีดวัคซีนให้แก่แรงงานต่างด้าวตามกำหนด โดยนายจ้างจ่ายแค่ค่าบริการทางการแพทย์

“กระทรวงแรงงานได้รับข้อสั่งการจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้นายจ้าง และสถานประกอบการมีแรงงานที่เพียงพอในการขับเคลื่อนกิจการตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมือง สามารถควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างเป็นระบบ และเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้เข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกกฎหมาย เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข ความมั่นคง และระบบการจ้างงานของประเทศ ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 มีค่าใช้จ่ายรวมในการนำเข้าฯ ระหว่าง 11,490 – 22,040 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ประกอบด้วยค่าตรวจโควิด 2 ครั้ง 2,600 บาท ตรวจลงตราวีซ่า (2 ปี) 2,000 บาท ใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท ตรวจสุขภาพ 6 โรค 500 บาท ค่าประกันสุภาพรวมโรคโควิด-19 (บริษัทประกันภัยเอกชน (4 เดือน)) 990 บาท ค่าบริการทางการแพทย์ (ฉีดวัคซีน) 50 บาท  และค่าสถานที่กักตัว (วันละ 500 – 1,000 บาท) กักตัว 7 วัน 3,500/7,000 บาท และกักตัว 14 วัน 7,000 – 14,000 บาท  โดยมีแนวทางการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 

รมว.เฮ้ง มอบนโยบายปี 65 กระทรวงแรงงาน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง)

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า ขอขอบคุณผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกท่าน ใน 1 ปีที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากทุกท่านทุกกรมของหน่วยงานในการทำงานเพื่อช่วยเหลือพี่น้องแรงงาน ผู้ประกอบการที่ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และภาวะทางเศรษฐกิจที่ถดถอย จนกระทั่งสามารถผ่านพ้นวิกฤตที่สำคัญ เป็นที่ประจักษ์ตามนโยบายกระทรวงแรงงาน

ผมขอมอบนโยบายกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ให้แรงงานจังหวัดเป็น CEO ในการขับเคลื่อนงานระดับจังหวัดในทุกมิติ  มีการบูรณาการข้อมูลให้เป็นฐานเดียวกัน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านแรงงานระดับจังหวัดและเชื่อมโยงกับส่วนกลาง มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน สร้างการรับรู้นโยบายในทุกระดับและภารกิจของทุกหน่วยงาน “รัฐมนตรีรู้ ปลัดกระทรวงรู้ แรงงานจังหวัดรู้”อาสาสมัครแรงงานและบัณฑิตแรงงาน เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ให้สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น จัดตั้งกลุ่มไลน์แรงงานจังหวัดระดับภาคเพื่อเชื่อมโยงการทำงาน, การตั้งกลุ่มไลน์อาสาสมัครแรงงานและบัณฑิตแรงงาน เป็นต้น

การใช้ช่องทางการสื่อสารจาก Social Media ที่มีความเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสามารถใช้ประโยชน์ในการทำงานแบบเครือข่ายไยแมงมุม ให้อัครทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงาน ทำการขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศแก่แรงงานไทยในต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้กลับประเทศไทย โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ  สามารถนำเงินลงในระบบเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ในปี 2565 ขอให้ดำเนินการต่ออย่างเข้มแข็งเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนด้านอาชีพ แรงงานนอกระบบ ผลักดันพระราชบัญญัติแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... เพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานนอกระบบกว่า 20.4 ล้านคน ต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันต่อรูปแบบการจ้างที่เหมาะสมกับการทำงานที่เปลี่ยนไป 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กรมการจัดหางาน จะเน้นในเรื่องการรักษาการจ้างงานและความช่วยเหลือกลุ่ม SMEs ขอให้เตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบ และวางระบบการเบิกจ่ายให้รัดกุม การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ต้องมีการอัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ให้เตรียมการจัดงาน JOB EXPO เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนผู้สนใจ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในการออกตรวจ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดมิให้เจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด

ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อเฝ้าระวังสถานประกอบการกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดข้อพิพาท วางแผนการทำงานในแต่ละปีเพื่อลดข้อร้องเรียนที่อาจเกิดขึ้น เช่น เดือนพฤศจิกายนให้หารือกับสหภาพเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสประจำปีเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีจะเป็นการลดสถิติของปัญหาข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่อาจเกิดขึ้นดำเนินโครงการแรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่อง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ทบทวนหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับเทรนด์ในปัจจุบันและเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างครบวงจรตั้งแต่การฝึกอบรมจนถึงสอนการทำตลาด เช่น สร้าง Story ในการขายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเป็นที่น่าสนใจ

ให้สถาบัน/สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด กำหนดหลักสูตรจังหวัดละ 1 หลักสูตร ขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม MOU ร่วมกับอาชีวศึกษา และสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เร่งรัดการออกหนังสือเพื่อรับรองความรู้ความสามารถให้เร็วขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ร่วมกับสถาบันการศึกษาจัดทำหลักสูตรเพื่อผลิตกำลังแรงงานรองรับตลาดแรงงานในอนาคต ระยะ 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี สำนักงานประกันสังคม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แก้ไขกฎหมายประกันสังคม

ในส่วนของสิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพ “3 ขอ” ได้แก่ ขอเลือก ขอคืน และขอกู้ จัดตั้งธนาคารเพื่อผู้ประกันตน สถาบันการแพทย์เพื่อผู้ประกันตน สร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประกันตนในราคาถูก เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง สร้าง application ประกันสังคมร่วมกับร้านค้าเพื่อเป็นสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน และ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. สร้างองค์ความรู้ให้แก่สถานประกอบการได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดอัตราการอุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน

รมว.แรงงาน จัดใหญ่ UpSkill แรงงานแข่งขันทักษะหุ่นยนต์หนุนศักยภาพ EEC

ก.แรงงาน เปิดห้องฝึกอบรมโชว์เทคโนโลยี พร้อมจัดประชันทักษะฝีมือด้านหุ่นยนต์-สมองกล เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศและ EEC

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีรับมอบห้องฝึกอบรม CiRA CORE และพิธีเปิดการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานสาขาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ครั้งที่ 2 “MARA Skill Competition 2021” ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี โดยเปิดเผยหลังจากเป็นประธานเปิดงานดังกล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  มีนโยบายดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตอบโจทย์การเติบโตของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ทั้งนี้สถานประกอบกิจการในเขต EEC หลายแห่งเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตมากขึ้น กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงใช้แนวทางประชารัฐร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา พัฒนาทักษะแรงงานทั้ง Upskill และ Reskill โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานใหม่และนักศึกอาชีวะให้เป็นแรงงานคุณภาพรองรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

นายประทีป  ทรงลำยอง  อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า การแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้นโยบายดังกล่าว จัดโดยหน่วยงานสังกัดกพร. สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 แข่งขัน 6 สาขา แบ่งเป็น 3 สาขาแข่งขันแบบทีมๆ ละ 2 คน ได้แก่ สาขาเมคคาทรอนิกส์ สาขาพีแอลซี สาขาซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ และแบบบุคคล 3 สาขา ได้แก่ สาขาหุ่นยนต์ สาขาเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) สาขาปัญญาประดิษฐ์ ซีลาร์ คอร์ (CiRA CORE) ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักศึกษาอยู่ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเขต EEC อาทิ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก อี.เทค วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี เป็นต้น  ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ชนะเลิศของแต่ละสาขาจะได้รับรางวัล ดังนี้  อันดับที่ 1 จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อันดับที่ 2 รับเงินรางวัล 3,000 บาท อันดับ 3 รับเงินรางวัล 2,000 บาท

การแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเตรียมความพร้อมของแรงงานใหม่และส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะสามารถนำความรู้ความสามารถมาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการกำลังแรงงานในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง และไฮไลต์อีกงาน คือการรับมอบห้องฝึกอบรม CiRA CORE ซึ่งเป็นตามนโยบายของรัฐบาลตามแนวทางประชารัฐที่เสริมความเข้มแข็งให้กับศักยภาพของ EEC ได้อย่างชัดเจน โดยห้องนี้ได้รับการสนับนุนจากบริษัท TKK Corporation CO.,LTD. และ CiRA Automation and Technology CO.,LTD. มอบอุปกรณ์การฝึกอบรม เช่น หุ่นยนต์ Nachi และมือจับ ชุดลำเลียงอัตโนมัติ ตู้ไฟฟ้าชุดคอนโทรล สามารถจัดฝึกอบรมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์เพื่องานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการผลิต (AI) การโค้ดดิ้งร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งสองกิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือทั้งจากสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะของกำลังแรงงานได้ทันเวลา เติมเต็มในส่วนที่เป็นข้อจำกัดของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและ EEC ด้วยแรงงานคุณภาพสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 “สุชาติ” รับคำปราศรัย “เลขาฯพปชร” ปมรวยจน ถูกโยงปั่นวาทกรรมโค้งสุดท้าย ลั่น “ทำดีที่สุดแล้ว แพ้ต้องยอมรับ แจง คะแนนตามเป้า เชื่อลต.ซ่อมไม่ทำเกิดศึกในพรรค 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อมส.ส.สงขลา เขต 6 กล่าวถึงผลเลือกตั้งซ่อมส.ส.สงขลา อย่างไม่เป็นทางการ โดยผู้สมัคร พรรคพปชร. ว่า คะแนนที่เราได้ กว่า 4หมื่นคะแนน ถือว่าไปตามเป้า แต่การเลือกตั้ง ก็เหมือนแข่งขันกีฬา เราซ้อมแล้วทำลายสถิติโลก แต่มีคู่แข่งที่ทำลายได้มากกว่า เราต้องยอมรับความพ่ายแพ้ อย่างพื้นที่สะเดา ที่เราประเมินจะชนะ 7-8 พันคะแนน แต่สามารถชนะเพียง 1,500 คะแนน ส่วนบางพื้นที่จะแพ้น้อย ก็แพ้เยอะกว่า จึงสวนทางกันไปหมด 

ผู้สื่อข่าวถามว่ามองประเด็นที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพปชร.ขึ้นปราศรัยหยิบยกประเด็นคนรวยคนจน อาจเป็นจุดพลิกให้พรรคพปชร.แพ้การเลือกตั้งครั้งนี้ นายสุชาติ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเป็นประเด็นหนึ่ง ที่มีผลให้ฝั่งตรงข้าม หยิบมาเป็นวาทกรรมคนรวย คนจน ในโซเชียล

อาสาสมัครแรงงาน ผู้ประกันตน ผู้ประกอบการ SMEs จ.เพชรบูรณ์ ปลื้ม !! รมว.เฮ้ง ลงพื้นที่พบปะให้กำลังใจถึงที่ 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบูธกิจกรรมการให้บริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

โดยมี นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเขาค้อ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย สำหรับการตรวจเยี่ยมบูธกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ในครั้งนี้ ประกอบด้วย โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ พบปะอาสาสมัครแรงงาน สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน SMEs และพบปะแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพสถานประกอบการ โครงการส่งเสริมสวัสดิการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ซึ่งผ่านการฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูฯ และนำผลิตภัณฑ์มานำเสนอ รวมทั้งพบปะให้กำลังใจผู้ประกันตน ม.40 จังหวัดเพชรบูรณ์อีกด้วย 

โดย นายสุชาติ กล่าวว่า ในวันนี้ผมมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาตรวจเยี่ยมและพบปะผู้ประกอบการ SMEs อาสาสมัครแรงงาน รวมทั้งผู้ประกันตน ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งทุกท่านเป็นกลไกสำคัญในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 
รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน กระทรวงแรงงานได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ อาทิ  การเยียวยานายจ้าง ผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีนายจ้าง จำนวน 721 ราย เป็นเงิน 17,658,000 บาท ผู้ประกันตนรวม 3 มาตรา จำนวน 285,280 คน เป็นเงิน 2,798,760,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,816,418,000 บาท

'รมว.เฮ้ง' ชวนแรงงานนอกระบบฝึกอาชีพเสริม พร้อมรับเครื่องมือทำกิน แก้ปัญหาความยากจน ตามนโยบายลุงตู่

กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรม เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ แก่ผู้ต้องการประกอบอาชีพอิสระและประชาชนทั่วไป จำนวน 2 พันคน แนะผู้สนใจติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดใกล้บ้าน 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพอิสระ แก่ผู้ที่มีเวลาว่าง ผู้ว่างงาน หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม ผ่านกิจกรรมเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ที่มีการจัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2565 มีเป้าหมายทั้งปี 100 รุ่น รวมทั้งสิ้น 2,000 คน เพื่อเพิ่มโอกาสมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำในช่วงสถานการณ์โควิด -19  ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรจะได้รับวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมหรือต่อยอดพัฒนารูปแบบของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่อไป

โดยอาชีพที่ได้รับความสนใจจากผู้อบรมได้แก่ การทำขนมไทย การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การทำหมูสวรรค์ การทำจักสานตะกร้าพลาสติก การทำเบเกอรี่ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปาท่องโก๋ เค้กหน้านิ่ม และชิฟฟ่อน ซึ่งผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีผู้ฝึกอบรม จำนวน 2,408 คน สร้างรายได้ 10,113,640 บาท

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แรงงานนอกระบบ ผู้ว่างงาน  และผู้ที่ต้องการหารายได้เสริมเพื่อนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ได้กำชับกระทรวงแรงงานดูแลแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบเท่าเทียม ทั่วถึง ให้มีทางเลือก มีโอกาสและช่องทางทำกิน  โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานมีภารกิจในการส่งเสริมและให้บริการแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ รวมถึงการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพอิสระ โดยมีการจัดวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกอบการ อาทิ การบริหารจัดการ การทำบัญชีเบื้องต้น การตลาด การคิดต้นทุนการผลิต กำไรขาดทุน เป็นต้น

"สุชาติ"โพสต์อีกครั้ง เดือดหมาไม่เคยทิ้งเจ้าของ มีแต่เจ้าของขอบเอาหมาไปทิ้งปล่อยวัด ทำให้หลงทาง ถูกทำร้าย เล่านิทานให้เห็นภาพ "ขุนศึกคู่กาย กับแม่ทัพอัลไซเมอร์"

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ผอ.พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก อีกครั้ง ระบุว่า “ครับ ที่ผ่านมาชีวิตจริง ผมไม่เคยเห็นหมาตัวไหนมันทิ้งเจ้าของ เห็นมีแต่เจ้าของนั้นแหละที่ชอบเอาหมาไปทิ้ง ไปปล่อยวัด มีเหตุผลไม่กี่ข้อที่หมาจะหายไปนั้นก็คือ "หลงทาง" กับการ "ถูกทำร้ายบาดเจ็บ" จนถูกบ้านหลังใหม่ เก็บเอาไปเลี้ยง

เช้านี้ ผมมี "นิทานพงศาวดาร" ฉบับย่อเรื่อง "ขุนศึกคู่กาย" เป็นข้อมูลที่ผมอยากจะให้ทุกๆท่านได้ฟังจากปากของผมเอง ผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ เวลา 08.40 น. ทางช่อง 9  ฟังนิทานผมแล้ว ระวังเจ้าของหมาอาจจะ "เสียหมา" ซะเอง

นายสุชาติ ระบุด้วยว่า นิทานพงศาวดาร เรื่อง "ขุนศึกคู่กาย กับแม่ทัพอัลไซเมอร์"  เช้านี้ผมได้เล่านิทานผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย inside Thailand และนี่คือเนื้อหาข้อมูลทั้งหมด  นานมาแล้ว มีขุนศึกกับแม่ทัพ คู่นึง ขุนศึกรักเคารพ แม่ทัพเหมือนพี่คนนึง สั่งให้ไปรบไปที่ไหน ไม่เคยปฏิเสธ สู้ตายถวายหัวทุกสนามรบ แม้กระทั่งวันที่ไม่เหลือขุนศึกคนอื่นเลย ที่สำคัญส่วนใหญ่ขุนศึกคู่กายคนนี้ รบชนะทุกครั้ง วันนึงขุนศึกคู่กาย ขอกลับมาดูแลครอบครัว และเรือกสวนไร่นาที่ทิ้งไปนาน เลยบอกแม่ทัพว่า ขอวางมือ ปรากฎว่า 3 ปีที่แล้ว มีสงครามใหญ่ แม่ทัพเรียกขุนศึกคู่กาย มาพูดคุยด้วยว่า ขอให้มาช่วยกันถ้าแพ้ศึกครั้งนี้เค้าและครอบครัวจะไม่มีแผ่นดินอยู่ ด้วยความรักและเคารพในตัวแม่ทัพ ขุนศึกคู่กายยอมทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งไร่นาสวน มาร่วมรบอีกครั้ง โดยการรบครั้งนี้ แม่ทัพให้ขุนศึกรับผิดชอบ 3 หัวเมืองหลัก ที่เหลือเป็นหน้าที่แม่ทัพรับผิดชอบ

นายสุชาติ ระบุต่อว่า  ก่อนออกรบ แม่ทัพรับปากว่า ถ้าชนะศึกจะปูนบำเหน็จให้ กระทั่งผลออกมา พอรบเสร็จ ขุนศึกรบชนะทั้ง 3 หัวเมือง ส่วนแม่ทัพแพ้ราบคาบทุกหัวเมืองหลังเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ ปรากฎว่าแม่ทัพเป็นอัลไซเมอร์ สิ่งที่รับปากไว้ลืมหมด รวมถึงเมื่อขุนศึกกลับบ้าน ไร่นา ครอบครัวเสียหาย แม่ทัพกลับไม่มีแม้แต่การเหลียวแล  ขุนศึกก็ต้องก้มหน้าดูแลตัวเองไป แต่เชื่อมั้ยว่า วันนึงสิ่งศักดิ์สิทธิมีจริง เจ้าเมือง มาเจอขุนศึกคนนี้ ซึ่งบาดแผลเพิ่งจะตกสะเก็ดจากการสู้รบ สืบทราบจากชาวบ้านว่าเป็นนักรบมีฝีมือ มีความซื่อสัตย์ สู้รบด้วยการไม่คิดถึงชีวิตตัวเองและครอบครัว จึงปูนบำเหน็จให้เป็น เสนาบดี เหตุนี้เอง ขุนศึกจึงทำงานตอบแทนเจ้าเมืองด้วยความซื่อสัตย์ ถวายหัว ผลงานเป็นที่ประจักษ์  ผมขอถามทุกท่านกลับไปว่า เป็นขุนศึกจะถวายหัวให้ เจ้าเมืองที่เห็นคุณค่าในตัวขุนศึก หรือ แม่ทัพอัลไซเมอร์ ที่ไม่เห็นคุณค่า??? และที่สำคัญ ขุนศึกผู้นี้ปลูกข้าวกินเองมาตลอด ไม่ได้กินข้าวของแม่ทัพ เหมือนขุนศึกคนอื่นๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top